วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

Portfolio


แนะนำตัวเอง




      1.แนะนำตัวเองให้เล่าเรื่องความประทับใจที่ได้มาเรียนเนื่องจากกระผมเรียนคณะนิเทศศาสตร์สาขา ออกแบบสื่อสารออนไลน์ มีความประทับใจในการเรียน spukk เพราะอาจารย์มีความเอาใจใส่แกผู้เรียนที่ความเป็นกันเองและเอาใจใส่ผู้เรียนรวมถึงอุปกรณ์ในการใช้ศึกษามีความทันสมัยและหลากหลาย สามารถ ศึกษาอุปกรณ์ได้อยากใกล้ชิดและจะทำให้เกิดความสถัดสามารถนำไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันและงานในอนาคตได้
          2.อาชีพที่อยากทำมากที่สุดหลังจากจบการเรียนนิเทศศาสตร์สามารถประกอบอาชีพได้หลายช่องทางในความติดส่วนตัวกระผมจะเปิดบริษัทรับงานเล็กๆกับเพื่อน เปิดรับงานถ่ายภาพ งานออกแบบต่างๆ รวมถึงการผลิตสื่อโฆษณาต่างๆ เนื่องจากสื่อมีความสำคัญใจยุคปัจจุบันมาก 

วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

สินค้าโอท็อปในหมู่บ้านของตนเอง

นาย วรภพ  โพธิวรรณา  ม.6/9  เลขที่ 16



สินค้าโอท็อปในหมู่บ้านของตนเอง
เรื่องการทอเสื่อกกหมู่บ้านสำราญ



ประวัติของกลุ่มทอเสื่อกก 
         การทอเสื่อกก  เกิดขึ้นประมาณ  60  ปีแล้ว  ส่วนใหญ่ทอเสื่อเพื่อใช้สอยในครัวเรือนสำหรับแลกเปลี่ยนกับสิ่งของเครื่องใช้ภายในครัวเรือนกันเองในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียงโดยเริ่มต้นทอกกสามเหลี่ยม (ต้นผือ)ต่อมาพระที่วัดได้นำพันธุ์กกกระจูด  ( ต้นไหล ) มาจากจังหวัดร้อยเอ็ดมาทดลองปลูกที่ริมบึงแพง ผลปรากฏว่าเป็นพืชที่ปลูกได้ผลดี  เจริญเติบโตเร็ว  จึงมีราษฏรในเขตหมู่บ้านแพงนำมาปลูกซึ่งต้นกกกระจูดมีคุณสมบัติที่เหนียว เมื่อทอเป็นผืนใช้งานได้ดี มีความคงทนถาวรมากกว่าการทอจากต้นกกสามเหลี่ยม( ต้นผือ ) ต่อมามีการจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพทอเสื่อกกขึ้น


การก่อตั้งกลุ่มทอเสื่อกกตำบลสำราญ อ.เมือง จ.ยโสธร 
          ปี 2532  กลุ่มแรก ๆ ที่เกิดขึ้นคือกลุ่มนางสัว   สิทธิจันดา  ได้รับการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจังหวัดยโสธร   ได้มีการส่งวิทยากรเข้ามาฝึกอบรมการทอเสื่อกก  การซอยกก การย้อมสีการออกแบบลายเสื่อกก  ในปี  2542  สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองยโสธร  คัดเลือกผู้นำกลุ่ม  2   คนคือนางบัวสัว   สิทธิจันดา   และนางบัวทอง โพธิรุกษ์ ไปอบรมการทอเสื่อกกที่อำเภอแหลมสิงห์จังหวัดจันทบุรี  เกี่ยวกับขั้นตอนการทำจนกระทั่งทอเป็นผืน  และนำความรู้ที่ได้มาเผยแพร่และฝึกให้แม่บ้านในหมู่บ้านสำราญได้ปฏิบัติ  กลุ่มทอเสื่อกกตำบลสำราญ  เกิดขึ้นในปี  2547  จากการฝึกอบรมด้านการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์รวมถึงการสนับสนุนจากพัฒนาชุมชนอำเภอในการสนับสนุนทุนการก่อตั้งกลุ่ม  50,000  บาท โดยมีนางแสงจันทร์   มูลโพธิ์  เป็นประธานคนแรก  และต่อมาติดภารกิจจึงลาออกและมีการประชุมหลังการจัดตั้งกลุ่มได้เลือกให้นางชวนพิศ  อวบอ้วนเป็นประธานกลุ่มแทน 

บทความวิชาการ

นาย วรภพ  โพธิวรรณา ม.6/9 เลขที่ 16


บทความวิชาการ
เรื่องการเขียนบรรณานุกรม


       ความหมายของบรรณานุกรม
        บรรณานุกรม  คือ  รายชื่อหนังสือเอกสาร  สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ รวมทั้งโสตทัศนวัสดุ  และสื่ออีเล็กทรอนิกส์ ที่นำมาเป็นหลักฐานอ้างอิงในการเขียนรายงาน  โดยเรียงตามลำดับอักษรไว้ท้ายเรื่อง

จุดมุ่งหมายในการเขียนบรรณานุกรม
        1.  ทำให้รายงานนั้นเป็นรายงานที่มีเหตุผล  มีสาระน่าเชื่อถือ
        2.  เป็นการเคารพสิทธิและความคิดเห็นของผู้อื่นจึงนำมาอ้างไว้
        3.  เป็นแนวทางสำคัญสำหรับผู้สนใจต้องการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม โดยศึกษาได้จากบรรณานุกรมนั้น ๆ
        4.  สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงที่นำมาอ้างได้

วิธีเขียนบรรณานุกรม
        การเขียนบรรณานุกรมจากหนังสือ  ผู้เรียนสามารถนำข้อมูลจากหน้าปกใน และด้านหลังของหน้าปกใน ของหนังสือเล่มที่บันทึกข้อมูลมาเขียนบรรณานุกรม  การเขียนบรรณานุกรมจากวารสาร นำข้อมูลจากหน้าปก ของวารสารฉบับที่บันทึกข้อมูล มาเขียนบรรณานุกรม  และการเขียนบรรณานุกรมจากหนังสือพิมพ์ นำข้อมูลจากหน้าแรกของหนังสือพิมพ์มาเขียนบรรณานุกรม  และการเขียนบรรณานุกรมจากสื่ออีเล็กทรอนิกส์ นำข้อมูลจากหน้าแรกของเว็บเพจมาเขียนบรรณานุกรม    ดังนี้
        1.  เขียนไว้ในส่วนท้ายของรายงาน
        2.  เขียนเรียงลำดับอักษรชื่อผู้แต่ง ในกรณีที่มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ให้เขียนบรรณานุกรมภาษาไทยก่อน
        3.  บรรทัดแรกของบรรณานุกรมชิดด้านซ้ายที่เว้นจากขอบกระดาษเข้ามา  1.5  นิ้ว  ถ้ายังไม่จบ เมื่อขึ้นบรรทัดใหม่โดยย่อหน้าเข้ามาประมาณ  7  ช่วงตัวอักษรของบรรทัดแรก  ให้เขียนตรงกับช่วงตัวอักษรที่  8
        4.  รายละเอียดในโครงสร้างรูปแบบบรรณานุกรมหนังสือ   มีดังนี้
1. โครงสร้างรูปแบบบรรณานุกรมหนังสือ

    1.1  การอ้างถึงชื่อผู้แต่ง           1.1.1  ผู้แต่งคนเดียว

           1.1.2  ผู้แต่ง  2  คน ให้ใส่คำว่า  “และ”  เชื่อมระหว่างคนที่  1  กับคนที่  2

           1.1.3  ผู้แต่ง  3  คน  ให้ใส่เครื่องหมายจุลภาคคั่นระหว่างคนที่  1  กับคนที่  2  และใส่คำว่า  “และ”  เชื่อมระหว่างคนที่  2  กับคนที่  3

           1.1.4  ผู้แต่งตั้งแต่  3  คนขึ้นไป  ลงเฉพาะชื่อแรก  และตามด้วยคำว่า  และคนอื่น ๆ

           1.1.5  หนังสือที่ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง  ให้ใช้ชื่อเรื่องเป็นรายการแรกแทนชื่อผู้แต่ง

           1.1.6  ผู้แต่งใช้นามแฝง  ให้ใช้นามแฝงได้เลย

           1.1.7  หนังสือแปล  ให้ใส่ชื่อ  นามสกุลของผู้แต่ง ก่อนผู้แปล

           1.1.8  ผู้แต่งมีบรรดาศักดิ์  ให้ใส่ชื่อ  นามสกุล  ตามด้วยบรรดาศักดิ์

    1.2  รูปแบบของบรรณานุกรมหนังสือ 
           รูปแบบของบรรณานุกรม  มี  2  แบบ
           1.2.1  การอ้างอิงแยกจากเนื้อหาอยู่ท้ายของรายงาน  
                     1)  การอ้างอิงเนื้อหาบางบท  หรือบางตอน  ในหนังสือเล่มเดียวจบ    ให้ใส่ชื่อบท หรือตอน  ใช้คำว่า “ใน” ตามด้วยชื่อหนังสือ  และระบุหน้า  เมืองที่พิมพ์ ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์


                     2)  การอ้างอิงเนื้อหาบางบท  หรือบางตอน  ของหนังสือบางเล่มที่มีหลายเล่มจบ ใช้คำว่า “ใน” ตามด้วยชื่อหนังสือ  ระบุเล่ม  และหน้าตามด้วยเลขหน้าที่อ้างอิง เมืองที่พิมพ์ ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์

                     3)  การอ้างอิงตลอดทุกเล่มที่มีหลายเล่มจบ  ให้ระบุจำนวนเล่ม ตามด้วย เมืองที่พิมพ์ ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์

                     4)  การอ้างอิงเพียงเล่มใดเล่มหนึ่ง  ให้ระบุเล่มที่อ้างอิงตามด้วย เมืองที่พิมพ์ ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์

           1.2.2  การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา                     1)  เมื่อต้องการจะแทรกในเนื้อหาสามารถแทรกวงเล็บพร้อมกับอ้างอิงได้ทันที  เมื่อจบข้อความ                          1.1)  รายการอ้างอิง  ประกอบด้วย  ชื่อ  นามสกุลผู้แต่ง ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค ปีที่พิมพ์ ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค  หน้า/เลขหน้าที่อ้างถึง

                          1.2)  หากไม่มีชื่อผู้แต่ง ให้ใช้ชื่อหน่วยงานแต่ง ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค ปีที่พิมพ์ ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค  หน้า/เลขหน้าที่อ้างถึง

                          1.3)  หากไม่ระบุปีที่พิมพ์  และเลขหน้า  ให้ใช้ตัวอักษรย่อ  “ม.ป.ป.”  ย่อมาจากคำว่า  ไม่ปรากฏเลขหน้า  และระบุคำว่า  ไม่มีเลขหน้าลงไปได้เลย

                     2)  ถ้าระบุชื่อผู้แต่งลงในเนื้อหาแล้วอ้างต่อทันทีในวงเล็บ  ไม่จำเป็นต้องระบุ ชื่อผู้แต่งซ้ำอีก

                     ยกเว้นผู้แต่งเป็นชาวต่างชาติ

                     3)  การอ้างถึงเอกสารที่ไม่สามารถค้นหาต้นฉบับจริงได้  ให้อ้างจากเล่มที่พบ  ใช้คำว่า  “อ้างถึงใน”  หากเป็นบทวิจารณ์  ใช้คำว่า  “วิจารณ์ใน”

                     4)  การอ้างถึงเฉพาะบท  ใช้คำว่า  “บทที่”

                     5)  การอ้างถึงตาราง  ในเนื้อหา  ใช้คำว่า  “ดูตารางที่”  การอ้างถึงภาพในเนื้อหา  ใช้คำว่า  “ดูภาพที่”

2. โครงสร้างและรูปแบบบรรณานุกรมวารสาร

    2.1  การเขียนบรรณานุกรมจากบทความในวารสาร  มีปีที่  และฉบับที่

    2.2  บทความในวารสาร  ที่ไม่มีปีที่  ออกต่อเนื่องทั้งปี

3. โครงสร้างและรูปแบบบรรณานุกรมหนังสือพิมพ์

    3.1  การเขียนบรรณานุกรมบทความในหนังสือพิมพ์

    3.2   การเขียนบรรณานุกรมข่าวจากหนังสือพิมพ์  ให้เขียนหัวข่าว

    3.3  การเขียนบรรณานุกรมจากคอลัมน์จากหนังสือพิมพ์

4. รูปแบบบรรณานุกรมเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ระบบออนไลน์  (Online) หรืออินเทอร์เน็ต
    4.1  เว็บเพจ มีผู้เขียน  หรือมีหน่วยงานรับผิดชอบ

    4.2  เว็บเพจไม่ปรากฏผู้เขียน  และปีที่จัดทำ ใส่  ม.ป.ป.  (ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์)

วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2559

บุคคลที่ชื่นชอบ


นาย วรภพ โพธิวรรณา ม.6/9  เลขที่ 16

บุคลที่ชื่นชอบ




           พันโท วันชนะ สวัสดี (ชื่อเล่น: เบิร์ด) เกิดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2515 ที่จังหวัดลำปาง แต่ได้ย้ายมาอาศัยและเติบโตที่จังหวัดกาญจนบุรี[1] จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจาก โรงเรียนวิสุทธรังษี จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 34 ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมอุตสาหการ ) โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (จปร.) รุ่นที่ 45 (รุ่นเดียวกับ ร.อ.รชฏ พิสิษฐบรรณกร อดีต ส.ส.กรุงเทพ พรรคไทยรักไทย) และปริญญาโทคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก
รับราชการในตำแหน่งนายทหารยุทธการและการฝึก กองพันทหารม้าที่ 19 ค่ายสุรสีห์ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ต่อมาเข้ารับราชการที่กองกิจการพลเรือนทหารบก กองบัญชาการทหารบก ในตำแหน่งหัวหน้าปฏิบัติการจิตวิทยา (ปจว.) และทำหน้าที่ รองโฆษกกองทัพบก ด้วย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้บังคับกองพัน กรมนักเรียนนายร้อยรักษาพระองค์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
เข้าสู่วงการแสดง ด้วยการคัดเลือกจากหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล เพื่อที่จะคัดเลือกตัวนักแสดงเป็น สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพื่อแสดงนำในภาพยนตร์เรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดย ม.จ.ชาตรีเฉลิม ต้องการนักแสดงที่เป็นนายทหารจริง ๆ จากนั้นจึงได้เรียนการแสดงเป็นระยะเวลา 9 เดือน
พ.ท.วันชนะ จึงมีชื่อที่เรียกกันจนติดปากว่า "ผู้พันเบิร์ด" ซึ่งเจ้าตัวบอกว่า ขอทำงานในวงการบันเทิงด้วยภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเพียงเรื่องเดียว ไม่คิดเข้าวงการบันเทิง และจะกลับไปรับราชการทหารต่อ
ด้านชีวิตส่วนตัว หลังจากคบหาดูใจกับสาวนอกวงการ มาถึง 10 ปี ปัจจุบัน จึงประกอบพิธีสมรสพระราชทาน โดยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มี ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล และ หม่อมกมลา ยุคล ณ อยุธยา เป็นประธาน ได้ทำการหมั้นและจดทะเบียนสมรสกับ วริญญา ศิริชุมแสง เมื่อวันเสาร์ ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ณ โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ[2] ปัจจุบันมีลูกชาย 1 คน ชื่อ "วิน - ด.ช.วันวฤณณ์ สวัสดี" คลอดเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 เวลาประมาณ 10.00 น. โดยมีน้ำหนักแรกเกิด 2,990 กรัม



วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558

สถานที่ประทับใจในโรงเรียนยโสธรพิทยาคม

นาย วรภพ โพธิวรรณา ม.6/9 เลขที่ 16

สถานที่ประทับใจในโรงเรียนยโสธรพิทยาคม
1.ห้องสมัดเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา 
    ซึ่งเนื่องจากได้นำมาเป็นสถานที่ประทับใจนั่นคือคาบสุดท้ายของวันพฤหัสบดีนั้นมีวิชาเรียน
รีราศบนห้อประชุม และผมกับเพื่อนๆก็จะมานั่งรอเรียนวิชารีราศกันที่นี้
เป็นประจำกับเพื่อนๆนั่นเอง


2. สวนป่า
เนื่องจากนำมาเป็นสถานที่ประทับใจคือ ที่สวนป่านั้นทุกเที่ยง มีกิจกรรมการแสดงมินิคอนเสิร์ตมีการแสดงดนตรีสดจากเพื่อนๆ น้องๆ ที่มีความสามารถในโรงเรียนยโสธรพิทยาคม พวกผมและเพื่อนๆก็จะชวนกันไปนั่งฟังเพลงกันก่อนขึ้นเรียนในช่วงบ่าย




3. สแตนเชียร์สีเขียว
เป็นประจำของทุกปีที่นักเรียน ม.6 ต้องคุมน้องๆ ม.1 ขึ้นสแตนเชียร์ ในกิจกรรกีฬาภายในของโรงเรียนเมื่อเรียนคาบสุดท้ายของภาคเช้าเสร็จพวกผมและเพื่อนๆก็จะไปรอน้องๆที่สแตนเชียร์เพื่อซ้อมน้องๆในการเชียร์กีฬาสีที่จะมาถึงทำให้ได้รู้ถึงความสามัคคีในหมู่คณะการทำงานเป็นทีม

4.โดมอเนกประสงค์
เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่ประทับใจเพราะส่วนใหญ่จะใช่ทำกิจกรรมบ่อย เช่น กิจกรรมหน้าเสาธง
และอื่นๆอีกมากมาย ที่ได้ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนหกทับเก้า นั่นเอง ถ่ายกับ Hotstar สีเขียวปีนี้ 


สัตว์เลี้ยงของข้าพเจ้า


นาย วรภพ  โพธิวรรณา ม 6/9 เลขที่ 16
สัตว์เลี้ยงของข้าพเจ้า
หมาป่า หรือ หมาป่าสีเทา เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จัดอยู่ในวงศ์ Canidae มีสัตว์ร่วมตระกูลคือ หมาจิ้งจอก หมาใน ไคโยตี ไฮยีน่าและดิงโก หมาป่าจัดอยู่ในสัตว์ประเภทกินเนื้อที่มีนิสัยค่อนข้างดุร้าย ปราดเปรียว เฉลียวฉลาด มีการออกล่าเป็นทีม มีความอดทนรวมทั้งมีความกล้าหาญและความสามารถในการต่อสู้อย่างดีเยี่ยม หมาป่าอาศัยอยู่อย่างกระจัดกระจายในแถบทวีปยุโรปในอดีตมีถึง 32สายพันธุ์ แต่ปัจจุบันหมาป่ากลับถูกไล่ล่าและลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วคงเหลืออยู่เพียงแค่ 4 สายพันธุ์คือ หมาป่าเทา หมาป่าแดง หมาป่าไซบีเรียนและหมาป่าขนคอยาวGDDGYUGFUหมาป่าออกล่าเหยื่อแต่ละครั้งจะไปเป็นฝูง ภายในฝูงจะเป็นตัวโตเต็มวัย แต่ละตัวสามารถล่าสัตว์ขนาดไม่โตมากนักได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปกติแล้วจะออกล่าเหยื่อในตอนกลางวัน โดยเฉพาะตอนเช้าและตอนบ่าย แต่ก็มีบางครั้งที่ออกล่าเหยื่อในคืนเดือนหงาย หมาในมียุทธวิธีในการล่าเหยื่อ แบบใหญ่ ๆ คือ 
1. การออกเดินล่าเป็นฝูง ฝูงหมาป่าจะเดินเรียงตามกันเป็นแถวเรียงหนึ่ง เสาะหาเหยื่อโดยการดมกลิ่น ถ้าพบเห็นจะร่วมมือก้นเข้าไล่ล่าทันที ส่วนมากจะเป็นเหยื่อที่หากินตามลำพัง 
2. การดักซุ่มอยู่ตามป่า ถ้าฝูงหมาป่าพบเหยื่อหากินอยู่เป็นฝูง จะแยกฝูงออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งไปดักซุ่มอยู่ในป่า อีกส่วนหนึ่งจะเข้าไปรบกวนฝูงสัตว์ให้เหยื่อบางตัวตกใจ และวิ่งเตลิดออกจากฝูงเข้าไปหาหมาป่า อีกส่วนที่ดักรออยู่แล้วจึงลงมือฆ่าเหยื่อ 
เหยื่อที่มีขนาดใหญ่จะถูกฝูงหมาป่าล้อมไว้ทุก ๆ ด้าน ทำให้พะว้าพะวังในการป้องกันตัวเอง หมาป่าจะโจมตีเหยื่อโดยเข้าทางด้านหลังและจะกัดบริเวณสะโพกทำให้เหยื่ออ่อนแรงก่อนแล้วจึงเข้ากัดบริเวณท้อง ก่อนที่จะเจาะกินอวัยวะภายใน หมาป่าสามารถฆ่าเหยื่อที่มีน้ำหนัก 50 กิโลกรัม ได้ภายใน นาทีเท่านั้น จึงมีประสิทธิภาพในการล่าสูงมาก สามารถทำอันตรายต่อกระทิง หมี หรือเสือได้ 
หมาป่าผสมพันธุ์กันตลอดทั้งปี ตัวเมียมีระยะตั้งท้องนานประมาณ สัปดาห์ ปกติจะตกลูกในช่วงเดือนพฤศจิกายน-เมษายน ตกลูกครั้งละ ตัว ก่อนหน้านั้นตัวเมียจะหาที่ที่เป็นโพรงใต้ดิน ซอกหินหรือเพิงหินเพื่อเป็นที่ดูแลลูกอ่อนที่จะเกิดใหม่ ในขณะเลี้ยงดูลูกอ่อนถ้าถูกรบกวนโดยมนุษย์หรือศัตรูจะย้ายหาที่ใหม่ที่ปอดภัยทันที เมื่ออายุได้ประมาณ เดือน จะเริ่มออกจากโพรง พออายุ เดือน จะเริ่มตามฝูงออกล่าเหยื่อ และเมื่ออายุ เดือน จึงจะเริ่มล่าสัตว์ขนาดใหญ่ได้ 





วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ นาย วรภพ โพธิวรรณา ม.6/9 เลขที่16

ชื่อเล่น ขอม อายุ18 ปี

วันเกิด 10 พฤษภาคม 2540

ที่อยู่ 117 หมู่ที่2 ตำบล สำราญ อำเภอเมือ จ. ยโสธร

ชอบสี เขียว 

อาหารที่ชอบก๋วยเดี๋ยว

กีฬาที่ชอบฟุตบอล 

งานอดิเรก เล่นดนตรี